อุจจาระตกค้าง สาเหตุสารพัดปัญหาสุขภาพที่คุณคาดไม่ถึง

ใครๆ ก็ทราบดีว่าเรื่องของการขับถ่าย ถึงจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่แท้ที่จริงแล้วการขับถ่ายเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพ จะสุขภาพดี หรือมีโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็สามารถเริ่มต้นสังเกตได้จากการขับถ่ายนี่แหละค่ะ

อุจจาระตกค้าง หมายถึงการที่เราขับถ่ายอุจจาระออกไปไม่หมด หากค้างอยู่ตามผนังลำไส้นานๆ เข้า อุจจาระจะติดแน่น ไม่หลุดออกไปง่ายๆ ถึงแม้จะมีอุจจาระล็อตใหม่ออกมาดันของเก่า แต่อุจจาระที่ติดแน่นอาจจะไม่หมดออกไปจากลำไส้ด้วย หากอุจจาระล็อตใหม่เหลวกว่า ก็แทรกตัวออกไปทางทวารหนักก่อน อุจจาระที่ตกค้างอยู่ ก็จะค้างอยู่อย่างนั้น ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว

ใครที่มีความเสี่ยงที่จะมีอุจจาระตกค้าง
  1. เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
  2. ทนอาหารที่มีกากใยน้อย
  3. มีพยาธิ หรือเชื้อรา ที่ทำให้กากดูดซึมผิดปกติ
  4. ไม่ถ่ายอุจจาระเวลา 5.00-7.00 น.
  5. เด็กเล็กที่หลังดื่มนม ไม่ได้อุ่มพาดบ่า หรือกลิ้นตัวไปมาให้ให้ลำไส้บีบตัว อาจทำให้อุจจาระตกค้าง แข็งจนบาดเป็นแผลได้
  6. คนที่ผ่าตัดบ่อย จนลำไส้เป็นพังผืด มีซอกหลืบให้อุจจาระไปตกค้างอยู่
  7. คนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ทานอาหารแล้วนั่งนิ่ง หรือนอน โดยไม่ได้ขยับตัวให้ลำไส้ช่วยบีบตัว
  8. กลั้นอุจจาระบ่อยๆ เช่น คนที่ทำงานเป็นกะ หรือมีประชุม รีบเร่งทำงานส่งตามระยะเวลาที่เร่งรัด
  9. คนที่มีลำไส้ยาวกว่าคนปกติ ยิ่งลำไส้ยาว ก็ยิ่งต้องใช้เวลาลำเลียงอุจจาระนานขึ้น และสามารถตกค้างระหว่างทางได้
อันตรายจากอาการอุจจาระตกค้าง
หากอุจจาระตกค้างมากยิ่งขึ้น จนไปกดทับเส้นเลือดต่างๆ ในกระเพาะอาหาร และกดทับกระดูกสันหลัง อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายได้ เช่น
  • ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูกเรื้อรัง
  • ปวดเมื่อนตามร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดขา ปวดกล้ามเนื้อไหล่ และสะบัก
  • เวียนหัว อ่อนเพลีย
  • นอนไม่หลับ
  • ผิวเป็นฝ้า
  • มีอาการปวดหัวไมเกรน


นอกจากนี้ยังมีวิธีตรวจหาอุจจาระตกค้างในลำไส้ได้ด้วยตัวเองมาฝากด้วยค่ะ
คลำบริเวณท้องด้านซ้ายล่าง ระดับใต้สะดือเล็กน้อย ใช้นิ้วมือลองกดๆ ลงไปลึกๆ คลำหาท่อนยาวๆ ในลำไส้ ยิ่งคนผอมจะยิ่งคลำเจอง่ายกว่าคนเจ้าเนื้อ หากกดไม่ถึง หรือกดหาไม่เจอ ลองนอนหวาย แขม่วพุง แล้วคลำๆ กดๆ หาอีกครั้ง

วิธีป้องกันไม่ให้มีอุจจาระตกค้าง
  1. พยายามขับถ่ายให้เป็นเวลา ตื่นเช้ามาขับถ่ายให้ได้บ่อยๆ ในช่วงเวลา 5.00-7.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด
  2. ทานอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ
  3. ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง
  4. อย่ากลั้นอุจจาระ เมื่อปวดให้รีบถ่ายทันที
  5. หลังทานอาหาร ขยับร่างกายเล็กน้อย ให้ลำไส้ได้บีบตัว แล้วยังช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ง่ายขึ้น เพื่อการขับถ่ายที่คล่องขึ้น
  6. ใครที่มีปัญหา เรื่องการขับถ่าย สามารถเลือกทานอาหารที่ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ เช่น นม โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยง ลูกพรุน น้ำส้ม น้ำมะนาว เป็นต้น
เรื่องของการขับถ่ายอาจเป็นเรื่องน่าอายหาก จะพูดคุยกับคนทั่วไป แต่เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายภายใน ซึ่งอาจทำให้มีปัญหาในการดำเนินชีวิตในอนาคตได้ เพราะฉะนั้นกันไว้ดีกว่าแก้นะคะ อย่าให้อุจจาระตกค้างมากจนถึงขั้นต้องปรึกษาแพทย์จริงจังจะดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก หนังสือพิมพ์บ้านเมือง


ภาพประกอบจาก istockphoto

เนื้อหาโดย : Sanook!

Facebook Comments
0 Comment "อุจจาระตกค้าง สาเหตุสารพัดปัญหาสุขภาพที่คุณคาดไม่ถึง"

Top